โดยปกติแล้วในช่วงเวลานี้ (สัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม) จะเป็นช่วงเวลาที่ตลาดลงทุนเงียบเหงาที่สุดช่วงหนึ่งผู้คนฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่ต่างกำลังใช้เวลาอยู่กับการพักผ่อนและอยู่กับครอบครัวในสัปดาห์สุดท้ายของหน้าร้อนก่อนที่โรงเรียนจะกลับมาเปิดอีกครั้ง แม้ว่าปี 2020 จะมีสถานการณ์พิเศษที่ทำให้กิจกรรมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปแต่จำนวนนักลงทุนในตลาดก็ยังถือว่าน้อยกว่าปกติอยู่ดีซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมราคาในช่วงนี้จะวิ่งอยู่ในกรอบราคาแคบๆ มีสภาพคล่องต่ำและสะสมพลังรอการทะลุกรอบแนวรับแนวต้านต่อไปในอนาคต

ดอลลาร์สหรัฐโดยภาพรวมยังคงเป็นสกุลเงินที่ถูกเทขายเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆอย่างยูโร ปอนด์ ออสเตรเลียดอลลาร์ นิวซีแลนด์ดอลลาร์และแคนาดาดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้นจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข่าวดีเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจรอบที่ 2 มาหนุน เงินเยียวยาผู้ตกงานพิเศษก็หมดอายุไปแล้ว ตัวเลขกิจกรรมในภาคการผลิตของนิวยอร์กและฟิลาเดเฟียไม่ได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีข่าวตัวเลขทางเศรษฐกิจบ้างแต่เราคาดว่าจะยังไม่มีการขยับของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างจริงจังในสัปดาห์นี้

เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจสำคัญที่อาจเป็นตัวชี้นำทิศทางสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้ได้คือแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์ที่จะเกิดขึ้น ณ เมืองแจ็กสัน โฮลสำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือว่า “เฟด (FED)”  คงไม่มีทางเลือกในการดำเนินนโยบายทางการเงินมากนักเพราะถึงแม้ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะคงที่แล้วแต่จำนวนคนตกงานยังเยอะอยู่และผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาพิเศษยังถือว่ามีจำนวนน้อยซึ่งหมายความว่าตัวเลขยอดขายปลีกจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ เมื่อพิจารณาจากการประกาศก่อนหน้านี้ของเฟดที่ย้ำแล้วย้ำอีกว่าจะไม่มีแผนการที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปีหน้ายิ่งทำให้เราเชื่อว่าแถลงการณ์ที่แจ็กสัน โฮลจะไม่ทำให้ดอลลาร์ขยับจนต้องจับตามอง

สิ่งที่นักลงทุนควรจับตาดูในแถลงการณ์ครั้งนี้มากกว่าเรื่องอัตราดอกเบี้ยควรจะเป็นความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสามารถขึ้นถึงเป้าหมายตามที่ธนาคารกลางวางเอาไว้หรือไม่เนื่องจากว่าตอนนี้อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ หากว่าธนาคารกลางต้องการที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นพาวเวลล์อาจจะต้องพูดถึงวิธีการเฉพาะที่จะดึงตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ให้ขึ้นมาให้ได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 2 และตัวเลขการใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคลที่ต้องให้ความสำคัญ ข้อมูลตัวเลขที่เป็นของเดือนกรกฎาคมคาดว่าจะออกมาดีเพราะตลาดคาดว่าข้อมูลในภาคการบริโภคของเดือนสิงหาคมจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด


ดัชนีS&P 500และNasdaqสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ทั้งคู่ขานรับข่าวดีที่มีต่อวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯก็สามารถฟื้นตัวได้ด้วยเช่นกันจากข่าวดีนี้ คู่สกุลเงินUSD/JPYฟื้นตัวขึ้นได้เล็กน้อยแต่หากจะดูว่าดอลลาร์แข็งค่าได้ดีขนาดไหนต้องดูเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศนิวซีแลนด์ลดลงมากกว่า 14% ในไตรมาสที่ 2 แม้ว่าตัวเลขจะดีกว่าที่คาดการณ์แต่ก็ยังถือว่าเป็นรายงานตัวเลขที่แย่ที่สุดครั้งหนึ่งและสามารถอธิบายถึงสาเหตุการอ่อนมูลค่าลงของสกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ได้อีกด้วยออสเตรเลียและแคนาดาดอลลาร์ก็ได้รับผลกระทบจากการกลับมาของดอลลาร์เช่นกันแต่ AUD ยังสามารถยันการกลับมาของดอลลาร์ได้เมื่อเทียบกับแคนาดาดอลลาร์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

กราฟEUR/USDที่ยังไม่สามารถยืนเหนือ 1.1850 จะเป็นที่จับตาสำหรับนักลงทุนวันนี้เนื่องจากมีรายงานตัวเลขดัชนีวัดบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมันโดย IFO และการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 แม้ภาพรวมแล้วนักลงทุนจะยังมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจฝั่งยุโรปมากแต่การที่ดัชนี PMI ทำตัวเลขลดลงเป็นสัญญาณบอกว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนกำลังอ่อนแรงลง ดังนั้นเป็นไปได้ที่รายงานตัวเลขจาก IFO ในวันนี้จะออกมาลดลงด้วยและจะยิ่งทำให้กราฟ EUR/USD ใช้เวลาปรับฐานนานขึ้น สถานการณ์ไวรัสโคโรนาในยุโรปอาจจะกลับเข้ามาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้งหลังจากมีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสเปน อิตาลีและเยอรมัน เมื่อวันศุกร์ที่แล้วพึ่งมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน ที่น่าเป็นห่วงก็คือตอนนี้โรงเรียนในยุโรปเริ่มกลับมาเปิดแล้วและฤดูที่โรคหวัดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายก็กลับมาอีกครั้งซึ่งนำไปสู่ความเป็นกังวลของนักลงทุนว่าการระบาดของไวรัสโคโรนารอบที่ 2 จะสามารถกลับมาได้หรือไม่
แนะนำโพสต์

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.35-31.80 ต่อ ดอลลาร์

เงินบาทปิดอ่อนค่าที 31.54 ต่อดอลลาร์USD/THBหลังซื้อขายในกรอบ 31.09-31.55 โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าสวนทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขาย สุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 5.6 พันล้านบาท และ 3.2 พันล้านบาท ตามลําดับ

กราฟเด่นประจำวัน: ดัชนีดอลลาร์กับการมุ่งหน้าลงสู่ 90.00

ช่วงระยะหลังมานี้หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เจอโควิด-19 คุกคามอย่างหนักก็มีการพูดถึงสกุลเงินดอลลาร์ว่าอาจจะต้องเสียตำแหน่งสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกเข้าจริงๆ สักวัน เราเองก็เป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ที่คิดและเคยเขียนบทวิเคราะห์เช่นนั้นออกไป แต่ถึงอย่างนั้นเพราะโลกเราหมุนไปบนหลักของความเป็นไปได้ แม้เราจะเคยเขียนบทความแบบนั้นแต่ถ้าให้พูดกันจริงๆ แล้วเราก็ยังไม่เชื่อแบบสนิทใจ 100% ว่าดอลลาร์จะเสียตำแหน่งแชมป์ภายรุ่นเรา