แม้ว่าสัปดาห์นี้จะเปิดตลาดมาด้วยการปิดบวกของตลาดหุ้นแต่แรงขาขึ้นนั้นกลับไม่ได้ช่วยส่งเสริมแต่อย่างใดให้กับตลาดสกุลเงินเลยดัชนีดาวโจนส์อยู่ในขาขึ้นมาเป็นวันที่ 7 ติดต่อกันแล้วในขณะที่สกุลเงินส่วนใหญ่ที่จับคู่กับเยนอย่างเช่นUSD/JPYกลับไม่สามารถปรับตัวลดลงไปต่ำกว่าเดิมได้ ในช่วงเปิดตลาดนิวยอร์กเมื่อวานนี้กราฟ USD/JPY มีราคาเทรดอยู่ที่ 106.20 และไม่สามารถวิ่งลงไปต่ำกว่า 106.00 ได้จนถึงปัจจุบัน

แต่การย่อลงมาของกราฟEUR/JPYกำลังส่งสัญญาณบอกสิ่งที่น่าสนใจให้กับตลาดลงทุนอย่างแรกนี่คือสัญญาณบอกว่านักลงทุนในตลาดสกุลเงินไม่ได้เชื่อมั่นในปัจจัยขาขึ้นมากเท่ากับนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ การที่กราฟ USD/JPY ไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อวันศุกร์ทั้งๆ ที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์และประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์เซ็นคำสั่งเยียวยาเศรษฐกิจพิเศษหมายความว่านักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ยังคงเชื่อว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังเสียโมเมนตัมขาขึ้นอย่างช้าๆ นักลงทุนในตลาดหุ้นไม่ได้สนใจเลยว่าคำสั่งของทรัมป์ไม่ใช่การเพิ่มเงินเข้ามาแต่คือการโยกเงินมาจากกองทุนประสานงานสำหรับแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ (FEMA) เพื่อจ่ายเงินเยียวยาให้กับคนตกงานและยืดระยะเวลาการจ่ายเงินภาษีออกไปจากวันที่ 1 กันยายน

นอกจากนี้การย่อลงมาของกราฟ EUR/JPY ยังบอกอีกว่านักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ไม่เชื่อว่าโลกจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ตราบใดที่ประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นแม้ว่ายุโรปซึ่งถือครองสกุลเงินอันดับสองของโลกจะสามารถควบคุมปัญหาการติดเชื้อโควิดได้เป็นอย่างดีและกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวอย่างมั่นคงแต่นักลงทุนก็ไม่ได้ให้ค่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปเท่ากับของอเมริกา ตอนนี้นักลงทุนเริ่มมองไปถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจากวิกฤตโควิดในสหรัฐฯ ผ่านพ้นไปแล้วซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจระยะยาวกับทั่วทั้งโลก

สิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสนใจมากกว่าข่าวทรัมป์กับการแบนแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ ไปเยือนไต้หวันคือความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังไม่ได้จางหายไปไหนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหรัฐฯ พึ่งประกาศคว่ำบาตรผู้บริหารฮ่องกง 11 คนและได้ส่งเครื่องบินรบไปยังไต้หวัน ยิ่งทั้งสองประเทศต่างก็ไม่ยอมอ่อนข้อให้แก่กันมากเท่าไหร่เศรษฐกิจโลกก็ยิ่งเจ็บปวดจากความบาดหมางนี้มากขึ้น ไม่มีใครได้รับชัยชนะอย่างแท้จริงในเวลาที่ทั้งโลกควรจะร่วมมือกันเพื่อผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและจะได้รีบกลับไปฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศของตน สิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นตอนนี้กับเรื่องวัคซีนต้านโควิดคืออาจจะมีการแบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายในการแจกจ่ายวัคซีนต้านโควิด

อย่างไรก็ตามขาขึ้นในตลาดหุ้นที่เห็นอยู่ตอนนี้แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นในตลาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถดีขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่สามารถผลิตวัคซีนต้านโควิดได้แล้วจริงๆตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อในรัฐที่เคยเป็นข่าวอย่างฟลอริด้าหรือเท็กซัสเริ่มลดลงจากตัวเลขสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ฟลอริด้าพึ่งมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน แม้จะเป็นข่าวดีแต่ถือว่ายังห่างไกลเมื่อเทียบกับประเทศนิวซีแลนด์ที่พึ่งทำสถิติครบ 100 วันกับการไม่มีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นเลย ในเมื่อสถานการณ์โควิดภายในสหรัฐอเมริกาเริ่มที่จะพอวางใจได้บ้างแล้วตอนนี้ก็ต้องไปรอติดตามข่าวการอนุมัติโครงการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่ 2 จากสภาคอนเกรสซึ่งเราเชื่อว่าอย่างไรโครงการนี้ก็ต้องได้ออกสู่สายตาชาวโลกอย่างแน่นอนเพราะว่าหากไม่ได้การเยียวยาตรงนี้มาเพิ่มผลลัพธ์ที่จะตามมาจะร้ายแรงและส่งผลระยะยาวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก

สำหรับนักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์นอกจากข่าวพาดหัวดังๆ ในหนังสือพิมพ์สหรัฐฯ ตามที่เราได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ยังมีข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจให้จับตามองอีกเช่นรายงานตัวเลขยอดขายปลีกของสหรัฐฯ ผลสำรวจกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) ตัวเลขในภาคแรงงานของออสเตรเลีย ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 และการประกาศนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) บางประเทศอย่างเช่นสหราชอาณาจักรยังคงต้องเฝ้าจับตาดูการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด อ้างอิงข้อมูลจากรายงานผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เผยว่าภาพตลาดแรงงานในเดือนกรกฎาคมของสหราชอาณาจักรยังไม่แข็งแกร่งพอเมื่อเทียบกับตัวเลขของออสเตรเลียซึ่งใช้มาตรวัดแบบเดียวกัน เศรษฐกิจของเยอรมันยังคงฟื้นตัวได้อย่างไม่มีปัญหาในขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าตัวเลขยอดขายปลีกของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมน่าจะเพิ่มขึ้นและ RBNZ ไม่น่าจะแสดงความเป็นกังวลใดๆ เกี่ยวกับประเทศออกมา

แนะนำโพสต์

กราฟประจำวัน: ผู้ถือพันธบัตรระยะยาวอาจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า

ในขณะที่ตลาดยังคงเชื่อว่าการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯใช้มาตรการคว่ำบาตรกับบริษัทหัวเหว่ยเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้น การทยอยนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ บ้างอย่างเช่นเยน,ฟรังก์สวิสและทองคำก็น่าจะช่วยคลายความกังวลดังกล่าวลงได้บ้าง

ดอลลาร์สหรัฐยังไม่เลือกทางชัดเจนก่อนรายงานตัวเลขยอดค้าปลีก

รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนถือเป็นข่าวที่สำคัญที่สุดของดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้สิ่งที่นักลงทุนฝั่งสหรัฐฯ ต้องการมากที่สุดมาตั้งแต่วันจันทร์แล้วคือข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการพูดคุยถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยแทบไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจและมีผลกระทบต่อตลาดน้อยมากเนื่องจากเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ใกล้กับ 0%